วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปผลการศึกษา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556

สรุปผลการศึกษา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556

จัดกลุ่มตามที่อาจารย์กำหนดให้ เพื่อศึกษาและทำงานร่วมกันเกี่ยวกับ การสร้างผลิตภัณฑ์จากฟ้อนต์เพื่อใช้ในการศึกษาและจำหน่าย ในงานgift on the moon 2014 สร้างบล็อคในการเขียนสรุปงานของกลุ่ม โดยเชิญสมาชิกในกลุ่ม เป็นผู้เขียนทุกคน และเริ่มทำการเขียนบล็อค และแก้ไขข้อมูล ตั้งชื่อกลุ่ม ให้มีเนื้อหาสอดคล้องเกี่ยวกับวิชาที่ศึกษา โดยศึกษาจากคำและข้อมูลจำเพาะของการออกแบบตัวอักษร มาใช้ในการตั้งชื่อ โดยการอภิปรายร่วมกัน เสนอชื่อ พร้อมความหมายต่างๆ เพื่อสอบถามความเห็นจากอาจารย์ และอภิปรายสรุปร่วมกัน เลือกชื่อกลุ่มที่ดีสุดเป็นชื่อกลุ่ม 
 รับงาน ออกแบบตัวอักษร ตามชื่อของกลุ่ม โดยให้สมาชิกทุกคนทำการออกแบบ และโพสต์ลงบล็อคสรุปการเรียนรู้ เพื่อนำมาอภิปราย และร่วมกันออกแบบ Logotype ของกลุ่มในคราวต่อไป

ชื่อกลุ่ม "Typorender"
ความหมาย "typo" คือคำที่เกี่ยวกับศาสตร์ของการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ มาจากคำว่า "typography" "render"คือ การกระทำ การปฏิบัติ การแสดงให้เห็น "Typorender" คือการนำคำสองมารวมกันให้เกิดเป็นความหมายใหม่ที่แปลโดยนัย ว่า ผู้ออกแบบอักษร หรือผู้ที่แสดงตัวอักษร  โดยสมาชิกในกลุ่มตกลงและเลือกชื่อนี้เป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุด

สมาชิก
นาย ดนุนัย พลศรี  รหัสนักศึกษา 5511302811
นาย วรพล พงษ์ไพโรจน์ รหัสนักศึกษา 5411301889
นางสาว บุญญาณุช วิชาชัย รหัสนักศึกษา 5511302597
นางสาว ฉัตรแก้ว ระวัง รหัสนักศึกษา 5511302613
นายทศพล อาจอนงค์ รหัสนักศึกษา 551131034

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของFONT

FONT คืออะไร


 Font เป็นกลุ่มของตัวอักษรข้อมูลที่พิมพ์ได้ หรือแสดงผลได้ที่กำหนดแบบและขนาด ประเภทการออกแบบสำหรับชุด font คือ typeface และการแปรผันของการออกเพื่อสร้างเป็น typeface family เช่น Helvetica เป็น typeface family, Helvetica italic เป็น typeface และ Helvetica italic 10-piont คือ font ในทางปฏิบัติ font และ typeface ใช้โดยไม่เน้นความแม่นยำ outline font เป็น ซอฟต์แวร์ typeface ที่สามารถสร้างช่วงขนาดของฟอนต์ bitmap font เป็นการนำเสนอแบบดิจิตอลของฟอนต์ที่มีขนาดตายตัว หรือจำกัดกลุ่มของขนาด ซอฟต์แวร์ outline font ที่นิยมมาก 2 โปรแกรมปัจจุบัน คือ true type และ adobe's type 1โดยฟอนต์ true type มากับระบบการ Windows และ Macintosh ส่วน type 1 เป็นมาตรฐาน outline font (ISO 9541) ทั้งฟอนต์ true type และ type 1 สามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ adobe's postscript (ถึงแม้ว่า) adobe พูดว่าฟอนต์ type 1 สามารถใช้ได้เต็มที่กับภาษา post script
ตัวอย่าง font


ในการออกแบบตัวอักษร ไทป์เฟซ (typeface) หรือ ฟอนต์ (font) หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร[1] หมายถึงชุดของรูปอักขระ(glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอนและอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคนิค



ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์[2][แก้]

บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่ Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เชิงอักษร[แก้]

Serif and sans-serif 02.svgแบบอักษรมีเชิง (เซริฟ)
Serif and sans-serif 01.svgแบบอักษรไม่มีเชิง (ซานส์เซริฟ)
Serif and sans-serif 03.svg"เชิง" คือส่วนที่เน้นสีแดง
ไทป์เฟซสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีเชิง (serif) และแบบไม่มีเชิง (sans serif)
แบบเซริฟคือแบบอักษรที่มีขีดเล็กๆ อยู่ที่ปลายอักษรเรียกว่า เซริฟ ดังที่ปรากฏในตัวอักษรตระกูล Times แบบอักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน เซริฟมีส่วนช่วยในการกวาดสายตาไปตามตัวอักษร ทำให้อ่านง่าย และนิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
ส่วนแบบซานส์เซริฟก็มีความหมายตรงข้ามกันคือไม่มีขีดที่ปลายอักษร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าแบบกอทิก (gothic) อักษรชนิดนี้ไม่เหมาะกับการเป็นเนื้อความ แต่เหมาะสำหรับใช้พาดหัวหรือหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่นซึ่งมองเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ฟอนต์สมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบในคอมพิวเตอร์ อาจมีทั้งแบบเซริฟและซานส์เซริฟปะปนกันในฟอนต์หนึ่งๆ

ความกว้างอักษร[แก้]

Propvsmono.svg
หากจะแบ่งประเภทตามความกว้างของอักษร สามารถแบ่งได้สองแบบคือ แบบกว้างตามสัดส่วน (proportional) และแบบกว้างขนาดเดียว (monospaced)
ผู้คนส่วนมากนิยมไทป์เฟซแบบกว้างตามสัดส่วน ซึ่งความกว้างอักษรจะแปรผันไปตามความกว้างจริงของรูปอักขระ เนื่องจากดูเหมาะสมและอ่านง่าย แบบอักษรประเภทนี้พบได้ทั่วไปตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมไปถึง GUI ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อาทิโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์) แต่ถึงกระนั้น รูปอักขระที่ใช้แทนตัวเลขในหลายไทป์เฟซมักออกแบบให้มีความกว้างเท่ากันหมด เพื่อให้สามารถจัดเรียงได้ตรงตามคอลัมน์
ส่วนไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเป็นการออกแบบที่มีจุดประสงค์เฉพาะ มีความกว้างอักษรเท่ากันหมดไม่ขึ้นอยู่กับรูปอักขระ คล้ายอักษรที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีคอลัมน์ของตัวอักษรตรงกันเสมอ แบบอักษรชนิดนี้มีที่ใช้ในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บางชนิดเช่น DOSUnix และเป็นที่นิยมในหมู่โปรแกรมเมอร์สำหรับแก้ไขซอร์สโคด ศิลปะแอสกี (ASCII Art) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้อักษรแบบกว้างขนาดเดียวเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์
ถ้าหากพิมพ์ตัวอักษรสองบรรทัดด้วยจำนวนอักษรที่เท่ากันในแต่ละบรรทัด ไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเราจะเห็นความกว้างทั้งสองบรรทัดเท่ากัน ในขณะที่แบบกว้างตามสัดส่วนจะกว้างไม่เท่ากัน และอาจไม่กว้างเท่าเดิมเมื่อเปลี่ยนไทป์เฟซ เนื่องจากรูปอักขระกว้างเช่น W, Q, Z, M, D, O, H, U ใช้เนื้อที่มากกว่า และรูปอักขระแคบเช่น i, t, l, 1 ใช้เนื้อที่น้อยกว่าความกว้างเฉลี่ยของอักษรอื่นในไทป์เฟซนั้นๆ

การวัดขนาดฟอนต์[แก้]

เส้นสมมติกำกับฟอนต์
ขนาดของไทป์เฟซและฟอนต์ในงานพิมพ์ โดยปกติจะวัดในหน่วย พอยต์ (point) ซึ่งหน่วยนี้ได้กำหนดขนาดไว้แตกต่างกันในหลายยุคหลายสมัย แต่หน่วยพอยต์ที่แท้จริงนั้นมีขนาดเท่ากับ 172 นิ้ว สำหรับการออกแบบอักษร จะวัดด้วยหน่วย เอ็ม-สแควร์ (em-square) เป็นหน่วยที่สัมพันธ์กับฟอนต์ขนาดนั้นๆ โดยหมายถึงความสูงที่สูงกว่าเล็กน้อยตั้งแต่ยอดปลายหางอักษรที่ชี้ขึ้นบน ลงไปถึงสุดปลายหางอักษรที่ชี้ลงล่างของฟอนต์นั้นๆ เอง ซึ่งเท่ากับความสูงของตัวพิมพ์ในงานพิมพ์ หรืออาจสามารถวัดได้ในหน่วยมิลลิเมตร คิว (¼ ของมิลลิเมตร) ไพคา (12 พอยต์) หรือเป็นนิ้วก็ได้
ความสูง 1 em คือความสูงของตัวพิมพ์ ดังนั้น em dash จึงหมายถึงอักขระขีดที่ยาวกินเนื้อที่ 1 em อยู่ที่มุมล่างขวาของภาพ
ตัวอักษรส่วนมากใช้เส้นบรรทัดหรือเส้นฐานเดียวกัน (baseline) ซึ่งหมายถึงเส้นตรงแนวนอนสมมติที่ตัวอักษรวางอยู่ในแนวเดียวกัน รูปอักขระของอักษรบางตัวอาจกินเนื้อที่สูงหรือต่ำกว่าเส้นฐาน (เช่น d กับ p) เส้นตรงสมมติที่ปลายหางของอักษรชี้ขึ้นบนและลงล่าง เรียกว่าเส้นชานบน (ascent) และเส้นชานล่าง (descent) ตามลำดับ ระดับของเส้นทั้งสองอาจรวมหรือไม่รวมเครื่องหมายเสริมอักษรก็ได้ ขนาดของฟอนต์ทั้งหมดจะวัดระยะตั้งแต่เส้นชานบนถึงเส้นชานล่าง นอกจากนั้นยังมีเส้นสมมติกำกับความสูงสำหรับอักษรตัวใหญ่กับอักษรตัวเล็ก ความสูงของอักษรตัวเล็กจะวัดจากความสูงของอักษร "x" ตัวเล็ก (x-height) ถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยให้วัดจากอักษร "บ" ส่วนความสูงของอักษรตัวใหญ่ (cap height) ปกติจะวัดจากเส้นที่อยู่เท่ากับหรือต่ำกว่าเส้นชานบนเล็กน้อยถึงเส้นฐาน อัตราส่วนระหว่างความสูงอักษร x กับเส้นชานบนหรือความสูงอักษรตัวใหญ่มักถูกใช้สำหรับการจำแนกลักษณะของไทป์เฟซ

ฟอนต์ไทย
อ้างอิง

ฟอนต์อังกฤษ
อ้างอิง





อ้างอิง

สรุป
truetype font
หมายถึงตัวอักษรประเภทหนึ่งที่ในปัจจุบันใช้ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิลและพีซี (บริษัทแอปเปิลพัฒนาขึ้นใช้ก่อน)ลักษณะของตัวอักษรแบบนี้จะชัดเจน เป็นแบบอักษรที่จะปรับขนาดโดยขยายให้ใหญ่หรือลดขนาดให้เล็กได้ง่าย

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิชาการออกแบบอักษรเพื่อการพิมพ์ ครั้งที่1

http://typefacesdesign.blogspot.com/ Typefaces Design : ออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์เว็บบล็อกบันทึกและสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ : Fonts and Typefaces Designcru-font.blogspot.com เป็นเว็บไซท์ที่เกี่ยวกับการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย-สร้างสรรค์เรื่อง การออกแบบพัฒนาแบบตัวพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ ตระกูลซีอาร์ยู โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร ปี พ.ศ.2555cadsondemak คัดสรรดีมาก เป็นบริษัทเกี่ยวกับการผลิตออกแบบฟ้อนต์tface group https://www.facebook.com/groups/tface/ เป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลข่าวสารแวดวงการออกแบบ ฟ้อนต์ รวมถึงการประกวดฟ้อนต์ต่างๆ
   
        >>>ปฐมนิเทศและแจกแจงรายละเอียดของวิชา สมัคร gmail เพื่อใช้สำหรับการบันทึกและประเมินผลวิชา โดยใช้ชื่อจริง และเข้าร่วมเป้นผู้ติดตาม บล็อค typesfacedesign เรียนรู้ระบบการประเมินลคะแนน (เกรด)โดยวัดจากคะแนนการเข้าชั้นเรียน ผลสัมฤิทธิ์การเรียนรู้ กิจกรรมพัมนาคุณธรรมจริยธรรม บุคลิกภาพ คะแนนจากการเรียน และกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน เรียนรูระบบสนับสนุนการเรียนรู้ผลิตภัณฑ์มาตราฐานของ Google อาทิเช่น Google+ ,gmail,googledoc,google drive, youtube และ blogger
เรียนรู้การเข้าใช้งานและดาวน์โหลดฟ้อนต์รีจากเว็บไซท์ F0nt.com เว็บไซท์ที่เป็นที่เผยแพร่ฟ้อนต์ และดาวน์โหลดฟ้อนต์ฟรี และศึกษาเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์เบื้องต้น 

ซอฟต์แวร์หลักที่ใช้ในการออกแบบฟ้อนต์ คือ FontCreator(High-Logic) และ Fontlab Studio (Fontlab)

งานที่ได้รับมอบหมาย  : สร้างบล็อคและจัดการตามคำสั่งในบล็อค typefacesdesign หาความหมายของคำว่า"font" เป็นบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (แปล) พร้อมอ้างอิง ลงในบล็อคที่ได้สร้างขึ้น โดยสืบค้นจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ เช่น google ,pinterest,thaifont.info :keywords เช่น "fon","typography","prachid" จะมีการสอบ pretest วันที่ 11 พฤษจิกายน 2556