FONT คืออะไร
Font เป็นกลุ่มของตัวอักษรข้อมูลที่พิมพ์ได้ หรือแสดงผลได้ที่กำหนดแบบและขนาด ประเภทการออกแบบสำหรับชุด font คือ typeface และการแปรผันของการออกเพื่อสร้างเป็น typeface family เช่น Helvetica เป็น typeface family, Helvetica italic เป็น typeface และ Helvetica italic 10-piont คือ font ในทางปฏิบัติ font และ typeface ใช้โดยไม่เน้นความแม่นยำ outline font เป็น ซอฟต์แวร์ typeface ที่สามารถสร้างช่วงขนาดของฟอนต์ bitmap font เป็นการนำเสนอแบบดิจิตอลของฟอนต์ที่มีขนาดตายตัว หรือจำกัดกลุ่มของขนาด ซอฟต์แวร์ outline font ที่นิยมมาก 2 โปรแกรมปัจจุบัน คือ true type และ adobe's type 1โดยฟอนต์ true type มากับระบบการ Windows และ Macintosh ส่วน type 1 เป็นมาตรฐาน outline font (ISO 9541) ทั้งฟอนต์ true type และ type 1 สามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ adobe's postscript (ถึงแม้ว่า) adobe พูดว่าฟอนต์ type 1 สามารถใช้ได้เต็มที่กับภาษา post script
ตัวอย่าง font
ในการออกแบบตัวอักษร ไทป์เฟซ (typeface) หรือ ฟอนต์ (font) หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร[1] หมายถึงชุดของรูปอักขระ(glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอนและอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคนิค
ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์[2][แก้]
บุคคลทั่วไปมักใช้คำว่า ฟอนต์ (font/fount) เรียกแทนไทป์เฟซ หรือใช้เรียกสลับกัน แต่ในความจริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ไทป์เฟซหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เล็กเท่าไร เช่น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ต่างเป็นไทป์เฟซคนละชนิดกัน ส่วนฟอนต์จะหมายถึงชุดตัวอักษรที่มีทั้งไทป์เฟซและขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Arial 12 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial 14 พอยต์ก็เป็นฟอนต์หนึ่ง Arial Bold 14 พอยต์ก็เป็นอีกฟอนต์หนึ่ง เป็นต้น ในการสร้างเอกสารแบบดิจิทัล ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนขนาดฟอนต์ได้เองในคอมพิวเตอร์ ทำให้ความแตกต่างของไทป์เฟซกับฟอนต์จึงลดความสำคัญลงไป
สำหรับตระกูลหรือสกุลของตัวอักษร (font/type family) มีความหมายกว้างกว่าไทป์เฟซ กล่าวคือ แบบตัวอักษรชื่อเดียวกันที่อาจมีรูปแบบต่างๆ กัน ถือเป็นแบบอักษรตระกูลเดียวกัน โดยปกติจะมี 4 รูปแบบคือ roman, italic, bold, bold italic แบบอักษรบางตระกูลอาจมี narrow, condensed หรือ black อยู่ด้วยก็ได้ ดังนั้น Arial, Arial Bold, Arial Italic และ Arial Bold Italic ทั้งหมดเป็นแบบอักษรในตระกูล Arial ในขณะที่ Helvetica หรือ Courier ก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง
ลักษณะทั่วไป[แก้]
เชิงอักษร[แก้]
แบบอักษรมีเชิง (เซริฟ) | |
แบบอักษรไม่มีเชิง (ซานส์เซริฟ) | |
"เชิง" คือส่วนที่เน้นสีแดง |
ไทป์เฟซสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีเชิง (serif) และแบบไม่มีเชิง (sans serif)
แบบเซริฟคือแบบอักษรที่มีขีดเล็กๆ อยู่ที่ปลายอักษรเรียกว่า เซริฟ ดังที่ปรากฏในตัวอักษรตระกูล Times แบบอักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน เซริฟมีส่วนช่วยในการกวาดสายตาไปตามตัวอักษร ทำให้อ่านง่าย และนิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
ส่วนแบบซานส์เซริฟก็มีความหมายตรงข้ามกันคือไม่มีขีดที่ปลายอักษร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าแบบกอทิก (gothic) อักษรชนิดนี้ไม่เหมาะกับการเป็นเนื้อความ แต่เหมาะสำหรับใช้พาดหัวหรือหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่นซึ่งมองเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ฟอนต์สมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบในคอมพิวเตอร์ อาจมีทั้งแบบเซริฟและซานส์เซริฟปะปนกันในฟอนต์หนึ่งๆ
ความกว้างอักษร[แก้]
หากจะแบ่งประเภทตามความกว้างของอักษร สามารถแบ่งได้สองแบบคือ แบบกว้างตามสัดส่วน (proportional) และแบบกว้างขนาดเดียว (monospaced)
ผู้คนส่วนมากนิยมไทป์เฟซแบบกว้างตามสัดส่วน ซึ่งความกว้างอักษรจะแปรผันไปตามความกว้างจริงของรูปอักขระ เนื่องจากดูเหมาะสมและอ่านง่าย แบบอักษรประเภทนี้พบได้ทั่วไปตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมไปถึง GUI ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อาทิโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์) แต่ถึงกระนั้น รูปอักขระที่ใช้แทนตัวเลขในหลายไทป์เฟซมักออกแบบให้มีความกว้างเท่ากันหมด เพื่อให้สามารถจัดเรียงได้ตรงตามคอลัมน์
ส่วนไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเป็นการออกแบบที่มีจุดประสงค์เฉพาะ มีความกว้างอักษรเท่ากันหมดไม่ขึ้นอยู่กับรูปอักขระ คล้ายอักษรที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีคอลัมน์ของตัวอักษรตรงกันเสมอ แบบอักษรชนิดนี้มีที่ใช้ในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บางชนิดเช่น DOS, Unix และเป็นที่นิยมในหมู่โปรแกรมเมอร์สำหรับแก้ไขซอร์สโคด ศิลปะแอสกี (ASCII Art) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้อักษรแบบกว้างขนาดเดียวเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์
ถ้าหากพิมพ์ตัวอักษรสองบรรทัดด้วยจำนวนอักษรที่เท่ากันในแต่ละบรรทัด ไทป์เฟซแบบกว้างขนาดเดียวเราจะเห็นความกว้างทั้งสองบรรทัดเท่ากัน ในขณะที่แบบกว้างตามสัดส่วนจะกว้างไม่เท่ากัน และอาจไม่กว้างเท่าเดิมเมื่อเปลี่ยนไทป์เฟซ เนื่องจากรูปอักขระกว้างเช่น W, Q, Z, M, D, O, H, U ใช้เนื้อที่มากกว่า และรูปอักขระแคบเช่น i, t, l, 1 ใช้เนื้อที่น้อยกว่าความกว้างเฉลี่ยของอักษรอื่นในไทป์เฟซนั้นๆ
การวัดขนาดฟอนต์[แก้]
ขนาดของไทป์เฟซและฟอนต์ในงานพิมพ์ โดยปกติจะวัดในหน่วย พอยต์ (point) ซึ่งหน่วยนี้ได้กำหนดขนาดไว้แตกต่างกันในหลายยุคหลายสมัย แต่หน่วยพอยต์ที่แท้จริงนั้นมีขนาดเท่ากับ 172 นิ้ว สำหรับการออกแบบอักษร จะวัดด้วยหน่วย เอ็ม-สแควร์ (em-square) เป็นหน่วยที่สัมพันธ์กับฟอนต์ขนาดนั้นๆ โดยหมายถึงความสูงที่สูงกว่าเล็กน้อยตั้งแต่ยอดปลายหางอักษรที่ชี้ขึ้นบน ลงไปถึงสุดปลายหางอักษรที่ชี้ลงล่างของฟอนต์นั้นๆ เอง ซึ่งเท่ากับความสูงของตัวพิมพ์ในงานพิมพ์ หรืออาจสามารถวัดได้ในหน่วยมิลลิเมตร คิว (¼ ของมิลลิเมตร) ไพคา (12 พอยต์) หรือเป็นนิ้วก็ได้
ตัวอักษรส่วนมากใช้เส้นบรรทัดหรือเส้นฐานเดียวกัน (baseline) ซึ่งหมายถึงเส้นตรงแนวนอนสมมติที่ตัวอักษรวางอยู่ในแนวเดียวกัน รูปอักขระของอักษรบางตัวอาจกินเนื้อที่สูงหรือต่ำกว่าเส้นฐาน (เช่น d กับ p) เส้นตรงสมมติที่ปลายหางของอักษรชี้ขึ้นบนและลงล่าง เรียกว่าเส้นชานบน (ascent) และเส้นชานล่าง (descent) ตามลำดับ ระดับของเส้นทั้งสองอาจรวมหรือไม่รวมเครื่องหมายเสริมอักษรก็ได้ ขนาดของฟอนต์ทั้งหมดจะวัดระยะตั้งแต่เส้นชานบนถึงเส้นชานล่าง นอกจากนั้นยังมีเส้นสมมติกำกับความสูงสำหรับอักษรตัวใหญ่กับอักษรตัวเล็ก ความสูงของอักษรตัวเล็กจะวัดจากความสูงของอักษร "x" ตัวเล็ก (x-height) ถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยให้วัดจากอักษร "บ" ส่วนความสูงของอักษรตัวใหญ่ (cap height) ปกติจะวัดจากเส้นที่อยู่เท่ากับหรือต่ำกว่าเส้นชานบนเล็กน้อยถึงเส้นฐาน อัตราส่วนระหว่างความสูงอักษร x กับเส้นชานบนหรือความสูงอักษรตัวใหญ่มักถูกใช้สำหรับการจำแนกลักษณะของไทป์เฟซ
ฟอนต์ไทย
อ้างอิง
ฟอนต์อังกฤษ
อ้างอิง
อ้างอิง
สรุป
truetype font หมายถึงตัวอักษรประเภทหนึ่งที่ในปัจจุบันใช้ทั้งในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิลและพีซี (บริษัทแอปเปิลพัฒนาขึ้นใช้ก่อน)ลักษณะของตัวอักษรแบบนี้จะชัดเจน เป็นแบบอักษรที่จะปรับขนาดโดยขยายให้ใหญ่หรือลดขนาดให้เล็กได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น